วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2557

นักวิชาการ มั่นใจ น้ำมัน ปตท รั่วจบแล้ว บริโภคสัตว์น้ำ-เล่นทะเลเสม็ดปลอดภัย



 

นักวิชาการคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเก็บข้อมูลพื้นที่เกาะเสม็ดอย่างต่อเนื่องตลอด 6 เดือนที่ผ่านมาจากเหตุน้ำมัน ปตท รั่ว  ยืนยันว่าขณะนี้ประชาชนสามารถบริโภคสัตว์ทะเล และเล่นน้ำทะเลที่เกาะเสม็ดได้แล้ว หลังเหตุการณ์ท่อส่งน้ำมันดิบรั่ว  จนส่งผลโดยตรงต่อระบบนิเวศทางทะเลในพื้นที่ และทำลายความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยว

ปะการังที่ฟอกขาวจากคราบน้ำมันบริเวณอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด และสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลา 6 เดือน  เป็นข้อมูลที่อาจารย์และนักศึกษาภาควิชาการวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จากการลงพื้นที่ และติดตามการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสิ่งแวดล้อมทางทะเลและระบบนิเวศ บริเวณอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า - เกาะเสม็ดตลอด 6 เดือนที่ผ่านมา

ซึ่งคณะสำรวจพบว่าเกาะเสม็ด 1 ปริมาณปะการังฟอกขาวลดน้อยลง จากประมาณร้อยละ 60 ในช่วงแรก ลดลงเหลือร้อยละ 0 ในระยะเวลา 2 เดือน   ทั้งนี้การฟอกขาวของปะการัง โดยปกติเกิดจากสภาวะโลกร้อน และใช้เวลาฟื้นตัวนานประมาณ 1 ปี ก่อนจะกลับสู่ภาวะปกติ  อย่างไรก็ตาม แม้ปะการังบริเวณอ่าวพร้าว  จะไม่ฟอกขาวแล้ว แต่พวกเขา เห็นว่ายังต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องอีก 1 ถึง 2 ปี 


ทีมสำรวจของคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เริ่มต้นสำรวจพื้นที่ตั้งแต่เดือนสิงหาคมจาก ข่าวน้ำมันรั่ว ปตท 2556  ครอบคลุมจุดศึกษา 60 จุด ตั้งแต่แนวชายฝั่งมาบตาพุดจากที่ น้ำมัน ปตท รั่ว ซึ่งเป็นสาเหตุ น้ำมันรั่ว ระยอง จุดเกิดเหตุท่อน้ำมันรั่วไหล เรื่อยไปถึงอ่าวบ้านเพ  แหลมแม่พิมพ์  โดยรอบเกาะเสม็ด  รวมทั้งอ่าวพร้าวซึ่งเป็นจุดที่คราบน้ำมันลอยเป็นแผ่นฟิล์มจากน้ำมันรั่ว ปตท

จากการศึกษาปริมาณสารไฮโดรคาร์บอนในสะสมอยู่ในทรายทั้ง 3 ระดับ อย่างผิวน้ำ  กลางน้ำ  และพื้นท้องน้ำ โดยเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานของทรายในเกาะฟิลิปปินส์  พบว่า มีปริมาณสารไฮโดรคาร์บอนลดลงอย่างต่อเนื่อง  แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าอยู่ในภาวะปกติ แต่ค่าที่วัดได้ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์

ขณะที่การสำรวจปริมาณสัตว์ทะเลโดยใช้ปริมาณปูทหารเป็นตัวชี้วัด พบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในจำนวนเกือบครึ่งของภาวะปกติ  ส่วนการสำรวจปลาในแนวปะการังที่ร่วมกับนักวิจัยญี่ปุ่น ไม่พบการสะสมสารพิษต่อมนุษย์ ที่มากเกินมาตรฐาน 


นักวิชาการ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บอกว่า ยังจำเป็นต้องเฝ้าระวังและติดตามความเปลี่ยนแปลงบนเกาะเสม็ดอย่างต่อเนื่อง และเสนอให้ภาครัฐและเอกชนชะลอโครงการฟื้นฟูระบบนิเวศไปก่อน 1 ปี เพื่อให้ธรรมชาติฟื้นตัวอย่างเต็มที่ก่อน  นอกจากนี้ควรมีการศึกษาการสะสมของสารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนในดินตะกอนมากขึ้น เพื่อกำหนดค่ามาตรฐานที่ใช้ร่วมกันทั้งประเทศ เนื่องจากประเทศไทยมีการขนส่งและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับปิโตรเลียมมากขึ้น                                                     
5 มีนาคม 2557 เวลา 17:24 น.






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น